วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นการพัฒนาระบบการศึกษา

ปัจจุุบันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องประสบกับสภาวะการ
แข่งขันที่สูงขึ้นในทุกด้านซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทีมีคุณภาพเพื่อรองรับกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นำไปสู่การเร่งปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในการ
หล่อหลอมเยาวชนของชาติให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และให้มีความรู้คู่คุณธรรมโดยที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในระบบการศึกษามีการนำแนวคิดทฤษฎีรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่เข้ามามีบทบาทด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก อาทิ ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) และผลงานวิจัยด้านสมอง (Brain research) โดยให้แนวคิดด้านการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม จากเน้นครูเป็น
ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนเปลี่ยนเป็นการที่ครูนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาและการเรียนรู้มาใช้ในการเรียนการสอนมุ่งให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการที่จัดกระทำ ไม่ใช่เพียงรับเข้ามาอย่างเดียว
การเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินการเรียนการสอน (Instruction) เป็นผู้เรียน
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Construction) โดยมีครูเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา โดยการออกแบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิ มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้เกิดแก่ผู้เรียน ครูผู้สอนต้องมีความสามารถกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ และความคิดรวบยอดที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน และ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายได้ รวมทั้งการวัดประเมินผลที่มีความเหมาะสมตรงตามจุดมุ่งหมาย โดยครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญดังนี้
- การกำหนดหลักเกณฑ์ยุทธศาสตร์
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน มุ่่งพัฒนาพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย เช่น การพัฒนาทักษะ การเลียนแบบ การฝึกทำซ้ำ และการลงมือปฏิบัติจริงในการพัฒนาเจตคติการปรุงแต่งพฤติกกรม (Behavior Modification) การถ่ายทอดความรู้ให่้แก่ผู้เรียนมีหลากหลายรูปแบบ โดยการส่งผ่านความรู้ตรงให้แก่ผู้เรียน หรือวิธีการให้เรียนรู้ด้วยตนเองการ สร้างความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยวิธีสร้างเทคนิคการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Method) หรือ การสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) และการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application of Knowledge) เป็นต้น
2. สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา
3. มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของผู้เรียน โดยสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เรียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ
4. สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งในด้านความแตกต่างทางความสามารถทางกายและทางสติปัญญา
5. มีความเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ เนื่องจากการเรียนการสอนต้องอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และ

การปรับการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญ
6. ต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมเริ่มแรกของผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมก่อนการเรียนการสอน ผู้เรียนบางคนอาจมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับจุดประสงค์ ดังนั้น พฤติกรรมแรกเริ่ม ทักษะ เจตคติ สภาพร่างกายย่อมเป็นสิ่งที่กำหนดได้ว่าควรจัดการเรียนการสอนแบบใดให้เกิดผลดีแก่ผู้เรียน
7. ต้องใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน โดยครูต้องส่งเสริมการใช้สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็น

เครื่องมือในการเรียนรู้ การปฎิบัติดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ สนุกสนานในการเรียน และ
สนับสนุนการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างการโรงเรียนและชุมชน
กระบวนการเรียนการสอนแบ่งได้ 3 ขั้นตอน คือ
- ขั้นเตรียมการเป็นขั้นของการวางแผนการเรียนการสอน โดยครูจะเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ซึ่งในการเรียนการสอนและภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการโดยครูผู้สอนต้องเตรียมข้อมูล อาทิ

การศึกษาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน การกำหนดรูปแบบการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม
- ขั้นการเรียนการสอน การเริ่มต้นจะต้องให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ เช่น การเริ่มจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียน การชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่กำลังเรียนมีความต่อเนื่องจากที่เรียนมาแล้วอย่างไร เป็นต้น จากนั้นเริ่มต้นนำเข้าสู่บทเรียนแล้วนำยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่ได้เลือกไว้มาใช้ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
- ขั้นการประเมินผล ในการประเมินผลนั้นไม่มีความจำเป็นต้องสอนจบบทเรียนแล้วประเมินผล แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมโดยเฉพาะการประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนหรือการประเมินย่อย ซึ่งรายละเอียดต่างๆ
ที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญอย่างมากและเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะพัฒนาระบบการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น