วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การวิจัย

การวิจัย หมายถึง การกระทำของมนุษย์เพื่อค้นหาความจริงในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่กระทำด้วยพื้นฐานของปัญญา ความมุ่งหมายหลักในการทำวิจัย ได้แก่ การค้นพบ, การแปลความหมาย,และ การพัฒนากรรมวิธีและระบบสู่ความก้าวหน้าในความรู้ด้านต่างๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายในโลก การวิจัย อาจต้องใช้หรือไม่ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ การวิจัยตามระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้แรงผลักดัน การวิจัยเป็นตัวสร้างข้อมูลข่าวสารเชิงวิทยาศาสตร์และที่มนุษย์นำมาใช้ในการอธิบายคุณสมบัติของสรรพสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา การวิจัยช่วยให้การประยุกต์ทฤษฎีต่างๆ มีความเป็นไปได้ในเชิงปฏิบัติ งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จำแนกได้เป็นประเภทตามสาขาวิทยาการและวิชาเฉพาะทาง นอกจากนี้คำว่าการวิจัยยังใช้หมายถึง การเก็บ รวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับวิชาการบางสาขาอีกด้วย วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยขั้นพื้นฐานคือ การสร้างความก้าวหน้าในความรู้ และความเข้าใจเชิงทฤษฎีของสิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างตัวแปรต่างๆ ด้วยการบุกเบิกที่เกิดจากการผลักดันของความอยากรู้อยากเห็น, ความสนใจ และตัวผู้วิจัยเอง เป็นการดำเนินการที่ยังไม่มีการคำนึงถึงการนำไปใช้ประโยชน์ไว้ล่วงหน้าแม้ว่าในระหว่างการวิจัยจะมีการนำผลไปประยุกต์ เชิงปฏิบัติได้ก็ตาม คำว่า พื้นฐานเป็นการบ่งชี้ว่าการวิจัยขั้นพื้นฐานเป็นการวางรากฐานให้เกิดการก้าวไปข้างหน้า ด้วยการสร้างทฤษฎีที่บางครั้งอาจนำไปประยุกต์ในเชิงปฏิบัติได้ เนื่องจากการที่ไม่อาจประกันได้ว่าการวิจัยจะมีประโยชน์เชิงปฏิบัติได้ในระยะสั้นได้นี้เองที่ทำให้การวิจัยขั้นพื้นฐานทำได้ยากกว่าการวิจัยแบบอื่น ดังนั้น การวิจัยจึงเป็นกระบวนการแสวงหาหรือพัฒนาความรู้อย่างมีระบบแบบแผน โดยมีวิธีการที่เชื่อถือและเป็นระบบ

ขั้นตอนการวิจัย วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นระเบียบวิธีที่ใช้การดำเนินการวิจัยในปัจจุบันมีขั้นตอน ดังนี้ 1. การกำหนดและให้ความหมายและปัญหาของการวิจัย 2. การสร้างสมมติฐานในวิจัย 3. การคิดและกำหนดแผนการดำเนินการวิจัย 4. การดำเนินการตามแผน 5. การสรุปผล

วิธีการดำเนินการวิจัยโดยทั่วไป มี 3 ขั้นตอน 1. การวางแผนการดำเนินการวิจัย (Designing the research plan) งานวิจัยในปัจจุบันผู้ที่วางแผนที่ดีต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทั้งเนื้อหาและวิธีดำเนินการวิจัยเป็นพื้นฐานและความสามารถในการวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบ และมีการวางรูปแบบการวิจัย (Design a study) โดยมีเป้าหมายที่สำคัญเพื่อหาคำตอบให้กับปัญหาการวิจัยที่ระบุไว้ได้ การกำหนดแผนงานจะมีคุณภาพเหมาะสมมีองค์ประกอบเป็นรากฐานที่สำคัญ เช่น ความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี แนวคิด และเนื้อหาในเรื่องที่ทำวิจัย, ระเบียบวิธีวิทยาในการวิจัย และความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น 2. ขั้นดำเนินงานตามแผน การดำเนินงานตามขั้นตอนการวางแผนครอบคลุมตั้งแต่การสร้างเครื่องมือ การทดสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย การกำหนดประชากร การสุ่มตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูลจริงตามแผนการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายและสรุปผลการวิจัย 3. ขั้นการนำเสนอผลการวิจัย มีรูปแบบการรายงานเฉพาะตัว อาจมีโครงสร้างแตกต่างกันบ้าง แต่ลักษณะของการรายงานผลคล้ายคลึงกัน มีส่วนสำคัญ ได้แก่ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัย ขอบเขตการวิจัย เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีการดำเนินการวิจัย การสร้างเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลการวิจัย อภิปรายและข้อเสนอแนะ

การจำแนกประเภทของการวิจัย เป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงหรือพัฒนาองค์ความรู้ อันนำไปสู่การทำนายหรือควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ นั้นได้ เบสท์ (Best, 1959) กล่าวถึงการวิจัย เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนในการพัฒนาองค์ความรู้ โดยได้จำแนกการวิจัยออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การวิจัยพื้นฐาน หรือ การวิจัยบริสุทธิ์ (Fundameatal or Pure Research) เป็นการพัฒนาทฤษฎีหรือ องค์ความรู้ การวิจัยประเภทนี้ต้องแสวงหาหลักเกณฑ์สากลโดยไม่ได้คิดถึงประโยชน์ในเชิงใช้สอยได้ทันทีของงานวิจัย 2. การวิจัยประยุกต์ (Applied Research) มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิต หรือทดสอบแนวคิด หลักการณ์ หรือทฤษฎี ผลการวิจัยจึงนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ 3. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Resarch) เป็นการวิจัยที่มุ่งผลการนำไปใช้ได้ทันที

จากนั้นเบสท์ยังได้เสนอแนวทางการจัดประเภทการวิจัยทางการศึกษา โดยพิจารณาระเบียบวิธีการวิจัย จำแนกได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ (Historical Research) เป็นการวิจัยที่ใช้กระบวนการรวบรวมข้อมูลแบบสืบสวนสอบสวน วิเคราะห์ข้อมูลจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เพื่อหาข้อค้นพบที่มีนัยทั่วไปสำหรับเหตุการณ์ต่าง ๆ 2. การวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) เป็นการวิจัยที่มุ่งบรรยายลักษณะเงื่อนไข สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน ที่เปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ 3. การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) เป็นการวิจัยความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างตัวแปรในสภาพการณ์ที่ถูกควบคุมหรือจัดกระทำจากการทดลอง

เคอร์ลิงเจอร์ (Kerlinger, 1964) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ 1. การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) เป็นการมุ่งการศึกษาลักษณะของประชากรที่สุ่มได้เป็นกลุ่มตัวอย่าง สิ่งที่สนใจศึกษาอาจเป็นข้อเท็จจริง หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2. การวิจัยแบบสืบย้อน (Ex Post Facto Research) เป็นการวิจัยที่ตัวแปรอิสระที่ได้ศึกษาก่อนหน้า ผู้วิจัย จึงได้ย้อนหลังถึงความสัมพันธ์ หรือผลที่เป็นไปได้ของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม ผู้วิจัยไม่สามารถจัดกระทำตัวแปรหรือสิ่งที่คิดว่าจะเป็นเหตุ แต่สังเกตจากตัวแปรตามหรือผลที่เกิดขึ้น และสืบย้อนกลับไปหาสิ่งที่เป็นเหตุหรือตัวแปรอิสระ 3. การวิจัยแบบทดลอง ( Experimental Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยได้จัดสภาพการณ์ตามแผนการวิจัย ซึ่งมีการสุ่ม เพื่อคุมตัวแปรแทรกซ้อน และจัดกระทำตัวแปรอิสระเพื่อสังเกตผลที่เกิดขึ้น โอกาสในการสรุปตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตาม จึงมีความเป็นไปได้ดีกว่าการวิจัยแบบสืบย้อน

อภิปรัชญา (Metaphysics)หมายถึง ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการหาความจริงสูงสุดที่เกี่ยวกับโลกและเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence)แก่นแท้ของสรรพสิ่งคือ สิ่งใด และทำไมสิ่งนี้ถึงเป็นแก่นแท้ของสรรพสิ่งความจริงที่สูงสุด ที่สิ่งที่สรรพสิ่งทั้งหลายจะได้เผชิญ เมื่อดับสลายและก่อนที่จะเกิดขึ้นใหม่ อภิปรัชญาเป็นปรัชญาบริสุทธิ์สาขาแรกที่เกิดขึ้นมาในโลกเกิด จากความสงสัยของมนุษย์สมัยโบราณ ที่มีต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และจากความอยากรู้ของมนุษย์ทำให้มนุษย์ต้องสืบหาสาเหตุของความเป็นจริงเหล่านั้นซึ่งคำตอบ ในที่สุดก็ได้คำตอบที่ถูกต้อง จากคำตอบที่ถูกต้องนี้แหละคือความรู้ทางอภิปรัชญา แม้จะแยกย่อยเป็นจำนวนมากแต่อยู่ในขอบเขตของสาขาใหญ่ๆ 3 สาขาของอภิปรัชญา คือ สสารนิยม จิตนิยม และธรรมชาตินิยม นอกจากอภิปรัชญา 3 สาขาใหญ่แล้ว ยังมีภววิทยาซึ่งเป็นสาขาที่สำคัญของอภิปรัชญา ซึ่งในศาสตร์ของภววิทยานี้ได้แยกออกเป็น 3 ทฤษฎี คือ เอกนิยม ทวินิยม และพหุนิยม อภิปรัชญาถือว่าเป็นหลักของโครงสร้างของวิชาปรัชญา ถ้าขาดอภิปรัชญาเสียแล้ว ปรัชญาก็มีไม่ได้ ดังนั้นในการนำเอาปรัชญาไปประยุกต์ใช้จำเป็นต้องยึดโครงสร้างอภิปรัชญาเป็นหลักสำคัญ


ญาณวิทยา หมายถึง ทฤษฎีความรู้(Theory of Knowledge) ซึ่งอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับ ที่มาของความรู้แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องความรู้เกิดจากสิ่งใดจากการมองเห็น สัมผัส ชิม ฟัง และคิด ซึ่งเป็นความรู้ในเชิงสงสัยและความรู้ในเชิงสงสัยนี้ทำให้เกิดความรู้ในเชิง ค้นหาคำตอบว่าความรู้ที่เราสงสัยนั้นถูกหรือผิด และในที่สุดความรู้ที่ได้จากการค้นหาคำตอบอาจจะเป็นความรู้ที่ถูกหรือผิดก็ได้ เพราะความรู้ที่ผิดอาจทำให้เราได้พบความรู้ที่ ถูกหรือนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความรู้ที่ถูก หรือ อาจเป็นความรู้ที่ถูกที่ทำให้เกิดความรู้ที่ผิดหรือนำไปประยุกต์ใช้ทำให้ ความรู้ที่ถูกอยู่แล้วอาจเป็นความรู้ที่ผิด ไม่ว่า จะเป็นความรู้ที่ถูกหรือผิด ญาณวิทยาเป็นเรื่องที่ศึกษาถึงลักษณะเด่นของความเป็นมนุษย์เหนือกว่าสัตว์โลกประเภทอื่นก็คือ รู้จักคิด ทำให้มนุษย์มีความรู้ มีสติปัญญาที่ล้ำเลิศ จนสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวรุดหน้าไปไกลกว่าในทุก ๆ ด้าน ญาณวิทยาจึงเป็นปรัชญาบริสุทธิ์อีกสาขาหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการสืบค้นหาความจริงทำการศึกษาวิเคราะห์เรื่องราวของความรู้อย่างแท้จริง

วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยี

เทคโนโลยี (Technology)หมายถึง วิธีการจัดแจงอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดระบบใหม่และเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นการประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในกระบวนการของการศึกษา ซึ่งเป็นพฤติกรรมศาสตร์ โครงสร้างของเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องประกอบด้วย มโนมติทางวิทยาศาสตร์กายภาพ มโนมติทางพฤติกรรมศาสตร์ โดยการประสมประสานของมโนมติอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่ วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และวิชาเทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อ
แก้ปัญหาทางการศึกษา ทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน จากความหมายต่าง ๆ จะเห็นได้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่าง ๆ มาจากเทคโนโลยีนำมาใช้ในวงการศึกษา ซึ่งเทคโนโลยีนั้นในบางครั้งจะเป็นการประดิษฐ์เพื่อใช้ในวงการอื่นๆ โดยเฉพาะก็ตาม แต่สามารถนำมาใช้เป็นเทคโนโลยีการศึกษาได้ เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณและวงการธุรกิจ
ก็ยังสามารถนำมาใช้ในการบริหารสถาบันการศึกษา เป็นต้น ในการเรียนการสอนการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้
จึงมีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดปัจจุบัน คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่าง ๆ ของโลก ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทาง ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์
3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่

ตามทันกระแสข้อมูลและข่าวสาร

ความแตกต่างระหว่างคือ Technology in education หมายถึงวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการนำเสนอเนื้อหาสาระทางการศึกษาหรือ การฝึกอบรม ได้แก่ โทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการภาษา เครื่องฉายประเภทต่าง ๆ หรือการใช้สื่อการสอน Technology of education หมายถึง เป็นการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สาขาวิชานี้ได้กล่าวถึงการนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งวัสดุ และวิธีการมาผสมผสานกัน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งแนวความคิดดังกล่าวมีจุดประสงค์หลายประการด้วยกัน เพื่อเพิ่มพูน
คุณภาพของการเรียน และผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ลดเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ให้น้อยลง เพิ่มประสิทธิภาพของ
ผู้สอนให้มีความสามารถต่อการสอนผู้เรียนที่มีปริมาณมากขึ้นโดยที่ไม่ทำให้ การเรียนรู้ด้อยคุณภาพลงลด
ค่าใช้จ่ายให้น้อยลงโดยไม่กระทบกระเทือนคุณภาพของการเรียน

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

จุดเริ่มต้นการพัฒนาระบบการศึกษา

ปัจจุุบันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องประสบกับสภาวะการ
แข่งขันที่สูงขึ้นในทุกด้านซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทีมีคุณภาพเพื่อรองรับกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงเป็นปัจจัยสำคัญ นำไปสู่การเร่งปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในการ
หล่อหลอมเยาวชนของชาติให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ ศักยภาพ และให้มีความรู้คู่คุณธรรมโดยที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในระบบการศึกษามีการนำแนวคิดทฤษฎีรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่เข้ามามีบทบาทด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก อาทิ ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) และผลงานวิจัยด้านสมอง (Brain research) โดยให้แนวคิดด้านการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม จากเน้นครูเป็น
ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนเปลี่ยนเป็นการที่ครูนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาและการเรียนรู้มาใช้ในการเรียนการสอนมุ่งให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ จึงเป็นกระบวนการที่จัดกระทำ ไม่ใช่เพียงรับเข้ามาอย่างเดียว
การเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดในการดำเนินการเรียนการสอน (Instruction) เป็นผู้เรียน
สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Construction) โดยมีครูเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา โดยการออกแบบการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและประสิทธิ มุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ให้เกิดแก่ผู้เรียน ครูผู้สอนต้องมีความสามารถกำหนดจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ และความคิดรวบยอดที่เหมาะสมแก่ผู้เรียน และ
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายได้ รวมทั้งการวัดประเมินผลที่มีความเหมาะสมตรงตามจุดมุ่งหมาย โดยครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญดังนี้
- การกำหนดหลักเกณฑ์ยุทธศาสตร์
1. สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนการสอน มุ่่งพัฒนาพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย เช่น การพัฒนาทักษะ การเลียนแบบ การฝึกทำซ้ำ และการลงมือปฏิบัติจริงในการพัฒนาเจตคติการปรุงแต่งพฤติกกรม (Behavior Modification) การถ่ายทอดความรู้ให่้แก่ผู้เรียนมีหลากหลายรูปแบบ โดยการส่งผ่านความรู้ตรงให้แก่ผู้เรียน หรือวิธีการให้เรียนรู้ด้วยตนเองการ สร้างความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยวิธีสร้างเทคนิคการค้นพบด้วยตนเอง (Discovery Method) หรือ การสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method) และการประยุกต์ใช้ความรู้ (Application of Knowledge) เป็นต้น
2. สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา ยุทธศาสตร์การเรียนการสอนต้องมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาวิชา
3. มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของผู้เรียน โดยสภาพความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้เรียนมีส่วนเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ โดยครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ
4. สนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน มุ่งในด้านความแตกต่างทางความสามารถทางกายและทางสติปัญญา
5. มีความเหมาะสมกับทรัพยากรที่มีอยู่ เนื่องจากการเรียนการสอนต้องอาศัยสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และ

การปรับการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมเป็นองค์ประกอบสำคัญ
6. ต้องเหมาะสมกับพฤติกรรมเริ่มแรกของผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมก่อนการเรียนการสอน ผู้เรียนบางคนอาจมีพฤติกรรมใกล้เคียงกับจุดประสงค์ ดังนั้น พฤติกรรมแรกเริ่ม ทักษะ เจตคติ สภาพร่างกายย่อมเป็นสิ่งที่กำหนดได้ว่าควรจัดการเรียนการสอนแบบใดให้เกิดผลดีแก่ผู้เรียน
7. ต้องใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอน โดยครูต้องส่งเสริมการใช้สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็น

เครื่องมือในการเรียนรู้ การปฎิบัติดังกล่าวจะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ สนุกสนานในการเรียน และ
สนับสนุนการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างการโรงเรียนและชุมชน
กระบวนการเรียนการสอนแบ่งได้ 3 ขั้นตอน คือ
- ขั้นเตรียมการเป็นขั้นของการวางแผนการเรียนการสอน โดยครูจะเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ซึ่งในการเรียนการสอนและภายหลังเสร็จสิ้นกระบวนการโดยครูผู้สอนต้องเตรียมข้อมูล อาทิ

การศึกษาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน การกำหนดรูปแบบการสอนและสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสม
- ขั้นการเรียนการสอน การเริ่มต้นจะต้องให้ผู้เรียนเกิดความสนใจอยากเรียนรู้ เช่น การเริ่มจากประสบการณ์เดิมของผู้เรียน การชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่กำลังเรียนมีความต่อเนื่องจากที่เรียนมาแล้วอย่างไร เป็นต้น จากนั้นเริ่มต้นนำเข้าสู่บทเรียนแล้วนำยุทธศาสตร์การเรียนการสอนที่ได้เลือกไว้มาใช้ให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
- ขั้นการประเมินผล ในการประเมินผลนั้นไม่มีความจำเป็นต้องสอนจบบทเรียนแล้วประเมินผล แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมโดยเฉพาะการประเมินผลระหว่างการเรียนการสอนหรือการประเมินย่อย ซึ่งรายละเอียดต่างๆ
ที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าครูผู้สอนมีบทบาทสำคัญอย่างมากและเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่จะพัฒนาระบบการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต